ที่มาของ Pride Month

ที่มาของ Pride Month

กว่าจะเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ มีความเป็นมายังไงกันนะ  กว่าพวกเขาจะมีวันนี้ได้ต้องต่อสู้เพื่อทวงความเป็นมนุษย์ และเท่าเทียม จากสังคมที่บิดเบี้ยว ที่ผลักไสให้ทุกคนที่ไม่ใช่ชายจริงหญิงแท้ ถูกจำกัดให้เป็นส่วนเกินในสังคม ณ ตอนนั้น

เหตุจลาจลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ก่อนหน้านี้ คนรักเพศเดียวกันไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว รวมไปถึงกฎหมายยังกำหนดไว้ชัดเจนไว้ว่า การร่วมเพศเดียวกันเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายและขัดต่อศีลธรรม ทางการแพทย์ถูกจำกัดให้เป็นความผิดปกติทางจิต  คนกลุ่มนี้ไม่สามารถแสดงตัวในที่สาธารณะของความเป็นตัวตนของตัวเอง 
กลางดึกวันที่ 28 มิถุนายน 1969 ตำรวจและเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายรวม 5 คน บุกจับกุมผู้ใช้บริการใน Stonewall Inn ซึ่งเป็น  บาร์เกย์ย่านกรีนวิชวิลเลจของมหานครนิวยอร์ก โดยยัดข้อหาบาร์ว่าขายแอลกอฮอล์โดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้กำลังทำร้ายคนในร้าน นั่นคือเหตุการณ์ที่ทำให้พวกเขา ลุกขึ้นมาปกป้องสทธิของตัวเอง สถานการณ์บานปลายจนเกิดเหตุจลาจล ผลักดันให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ รวมตัวกันเดินขบวนปีต่อมาที่มหานครนิวยอร์ก และหลายเมือง งาน Pride ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ถือกำเนิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมานั่นเอง
การเดินขบวนเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคในสังคมให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมุมมอง และแก้ไขกฎหมายหวังกำจัดความเกลียด และความอคติเหยียดเพศ
30 ปีต่อมา บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นท่านได้เห็นความสำคัญของเหตุจลาจลและการต่อสู้ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ จึงประกาศให้เดือน มิถุนายน เป็น เดือนแห่ง Gay& Lasbian Pride Month หรือเดือนความภูมิใจของชาวเกย์และเลสเบี้ยน จึงกลายเป็นการถูกยอมรับ และลบความแตกต่างทิ้งไป
9 ปีต่อมา  บารัค โอบามา ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐ ต้องการเพิ่มความตระหนักถึงเรื่องนี้อีกครั้ง จึ่งประกาศให้เดือนมิถุนายนเป็นเดือน Lesbian, Gay, Bisexual, and Transgender Pride Month หรือ เดือนแห่งความภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนเคารพกันและกันในฐานะมนุษย์เท่ากัน
ตลอดเดือนมิถุนายนของทุกปี จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญของผู้คนกลุ่มความหลากหลายทางเพศทั่วโลกที่พวกเขาจะได้ประกาศความเป็นตัวตน ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมที่ภาคภูมิใจไปถึงทุกคน ที่เชื่อว่ามนุษย์มีเกียรติและมีศักดิ์ศรี ที่เท่าเทียมกัน เสมอกัน ไม่ว่าจะเป็นใครอยู่ที่ไหน บนโลกใบนี้ 
body-pride-month-08
มาดูความหมายของธงสีรุ้งกันค่ะ
สีรุ้งที่มาจากรุ้งกินน้ำ ที่มักเกิดขึ้นหลังฝนหยุดและมีแดดออก ประกอบไปด้วย สีมวง สีคราม สีน้ำเงิน สีเหลือง สีแสด และสีแดง แต่ LGBT Pride Flag หรือ ธงรุ้ง ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อรณรงค์และเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมกันของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในปัจจุบัน ประกอบด้วย 6 สี คือ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงินเข้ม และ สีม่วง
ย้อนกลับไปปี 1978 ระหว่างนับถอยหลังงก่อนถึงงาน Gay Freedom Day หรือวันแห่งการเฉลิมฉลองของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่ซานฟรานซิสโก กิลเบิร์ต เบเคอร์ (Gilbert Baker) หนึ่งในนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิของเกย์ผู้ถูกกองทัพสหรัฐฯปลดประจำการเพราะเปิดเผยตัวว่าเป็นเกย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองมาโดยตลอด
ต้องการมีส่วนร่วมในงานสำคัญครั้งนี้ขณะนั้นเบเคอร์มีอาชีพเป็นศิลปินและช่างประดิษฐ์ธง จึงแสดงฝีมือจากความสามารถที่ถนัดและทำได้ดีที่สุดของเขาออกแบบ ย้อมสี และตัดเย็บผ้าด้วยมือจนสำเร็จเป็นธงผืนใหญ่ขนาดยาว 18 เมตร กว้าง 9 เมตร จำนวน 2 ผืนสำหรับใช้ถือเดินขบวนก่อนนำไปชักขึ้นเสาธงบริเวณจตุรัสสหประชาชาติ ใกล้กับศาลาวาการประจำเมืองซานฟรานซิสโกในวันที่ 27 มิถุนายน โดยมีเพื่อนศิลปินอีก 2 คน คือ ลินน์ เซกเกอร์บลอม (Lynn Segerblom) และ เจมส์ แม็กนามาร่า (James McNamara) เป็นผู้ช่วย
เบเคอร์แบ่งหน้าธงออกเป็นแถบ 8 สี ตามแรงบันดาลใจที่ได้มาจากธงชาติสหรัฐฯ ในวาระครบรอบ 200 ปีแห่งการปฏิวัติอเมริกา และรุ้งกินน้ำ โดยจัดเรียงสีใหม่พร้อมกำหนดความหมายให้แต่ละสีเพื่อสื่อถึงความงามจากความหลากหลายที่อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน
1.ชมพูเข้ม แทน เพศวิถี (sex)
2.แดง แทน ชีวิต
3.ส้ม แทน การเยียวยา
4.เหลือง แทน แสงอาทิตย์
5.เขียว แทน ธรรมชาติ
6.เทอร์ควอยซ์ (น้ำเงินอมเขียว) แทน ความวิเศษและศิลปะ
7.คราม แทน ความสงบสุข
8.ม่วง แทน จิตวิญญาณ
จนทำให้ธงรุ้งได้รับความนิยม จากของทำมือด้วยวิธีการง่ายๆ จึงกลายเป็นของที่ต้องผลิตโดยเครื่องจักรเพื่อให้ได้จำนวนมากพอกับความต้องการทุกครั้งที่ธงรุ้งโบกสบัดหรือปรากฏอยู่บนที่ไหนก็ตาม จึงเท่ากับการมองเห็นความหลากหลายในความเป็นมนุษย์และเป็นสิ่งย้ำเตือนว่าทุกคนล้วนเป็นเฉดสีที่ช่วยแต่งแต้มและเติมเต็มสังคมให้สวยงามและน่าอยู่ขึ้นได้บนทุกๆส่วนของโลกใบนี้ค่ะ
 
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก becommon.co

CATEGORIES:

Tags:

No Responses

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *